การบริหารราชการแผ่นดินของไทย แบ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มีด้วยกัน 3 ส่วน คือ ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย กระทรวง ทบวง กรม รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากรม สำนักนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการที่ไม่สังกัดหน่วยงานต่าง ๆ ตามที่ระบุ
ทั้งนี้ หน่วยราชการส่วนกลางที่ไม่สังกัดกระทรวง ทบวง กรม รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากรม และสำนักนายกรัฐมนตรี มีดังนี้
หน่วยงานขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
เป็นองค์กรที่กำกับดูแลโดยนายกรัฐมนตรี มีดวยกัน 10 หน่วยงาน ได้แก่
- สำนักพระราชวัง
- สำนักราชเลขาธิการ
- สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
- ราชบัณฑิตยสภา
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
- สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
เป็นหน่วยงานที่มีฝ่ายบริหารเฉพาะขององค์กรนั้น ๆ มีด้วยกันดังนี้
- สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
- สำนักงานศาลปกครอง
- สำนักงานศาลยุติธรรม
- สำนักงานอัยการสูงสุด
- สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
- ศาลทหาร
- สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
- สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
- สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
- สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
- สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งขึ้นตรงต่อประธานรัฐสภา