ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บบล็อกรวมสาระเกี่ยวกับ “อาชีพข้าราชการ” โดยเราได้รวบรวมและประมวลข้อมูลเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนมานำเสนอหลายประเด็นด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อที่ว่าด้วยข้าราชการพลเรือนประเภทต่าง ๆ ข้าราชการวิชาชีพและชำนาญการเฉพาะทาง ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ราชการในพระองค์ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสอบเข้ารับราชการ และตำแหน่งข้าราชการพลเรือนระดับต่าง ๆ รวมทั้งอัตราเงินเดือนระดับต่ำสุดและสูงสุด
ข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการพลเรือนแบ่งเป็นหมวดใหญ่ 2 ประเภท ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และข้าราชการพลเรือนในพระองค์ โดยข้าราชการพลเรือนสามัญส่วนใหญ่ มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่งทำงานผ่านสำนักงาน ก.พ. ดำเนินการสอบคัดเลือกเข้ามา ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. มีบทบาทสำคัญต่อการสรรหาบุคลากรเข้ารับข้าราชการ และการออกระเบียบข้อสำหรับใช้กำกับดูแลข้าราชการในกระทรวงต่าง ๆ อีกทั้งมีหน่วยงานในสังกัดหลายหน่วยงานด้วย
ข้าราชการชำนาญเฉพาะทาง
หลายคนอาจเข้าใจว่า ข้าราชการวิชาชีพและชำนาญการเฉพาะทางหลายสาขา ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือน แต่จริง ๆ แล้ว ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งวิชาชีพต่าง ๆ เช่น ครู แพทย์ พยาบาล และตำรวจ ล้วนเป็นข้าราชการพลเรือน นอกจากนั้น ยังมีข้าราชการวิชาชีพอื่น ๆ อีก ที่มีสถานะเป็นข้าราชการพลเรือน
ท่านที่สนใจ คลิกเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความหัวข้อ “ข้าราชการวิชาชีพ”
การแบ่งการปกครอง
การบริหารราชการแผ่นดินของไทย มีโครงสร้างซับซ้อน มีการแบ่งการบริหารออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยแต่ละส่วนมีโครงสร้าง หน่วยงานในสังกัด และตำแหน่งแยกเป็นประเภทรวมทั้งระดับต่าง ๆ จำนวนมาก
ท่านที่สนใจ คลิกเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ “ราชการส่วนกลาง” ”ราชการส่วนภูมิภาค” “ราชการส่วนท้องถิ่น” และ “ตำแหน่งและเงินเดือน”