ระบบบริหารราชการของประเทศไทย มีโครงสร้างที่มีความซับซ้อนสูง โดยเฉพาะโครงสร้างของข้าราชการพลเรือน (Civil Servant) ซึ่งเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของระบบราชการไทย มีกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งนี้ ข้าราชการพลเรือนมี 2 ประเภท คือ
1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ที่ได้รับบรรจุแต่งตั้งตามข้อกำหนด ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
2. ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ที่ได้รับบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานที่เกี่ยวกับราชการในพระองค์ ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์
ข้าราชการพลเรือนสามัญ
สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ แบ่งตามประเภทงานออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1. ข้าราชการพลเรือน คือ ผู้ได้รับบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติ ก.พ. โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณในกระทรวง ทบวง และกรม ฝ่ายพลเรือน
2. ข้าราชการฝ่ายพลเรือน คือ ข้าราชการวิชาชีพ และข้าราชการในหน่วยงานวิชาชีพต่าง ๆ ยกเว้นข้าราชการการเมืองและทหาร โดยส่วนหนึ่งของข้าราชการฝ่ายพลเรือน เช่น ข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษา ครู ตำรวจ และข้าราชการศาลยุติธรรม เป็นต้น โดยเรื่องนี้ได้อธิบายรายละเอียดไว้ในบทความหัวข้ออื่นแล้ว
หน่วยงานในสังกัด ก.พ.
สำหรับหน่วยงานข้าราชการพลเรือน ที่ขึ้นตรงต่อสำนักงาน ก.พ. ซึ่งเป็นหน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีดังนี้
- สำนักงานเลขาธิการ
- ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- ศูนย์จัดการศึกษาในต่างประเทศและบริหารความรู้
- สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในต่างประเทศ
- ศูนย์นักบริหารระดับสูง
- ศูนย์สรรหาและเลือกสรร
- สำนักกฎหมาย
- สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน
- สำนักตรวจสอบและประเมินผลกำลังคน
- สำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน
- สำนักมาตรฐานวินัย
- สำนักพิทักษ์ระบบคุณธรรม
- ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม
- สำนักวิจัยและพัฒนาระบบบุคคล